เหล็กแผ่นกับเทคโนโลยีใหม่ – การผลิตเหล็กที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เหล็กแผ่นกับความสำคัญในอุตสาหกรรมปัจจุบัน เหล็กแผ่น เป็นวัสดุหลักที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ยานยนต์ วิศวกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ความต้องการ เหล็กแผ่นคุณภาพสูง ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกัน กระบวนการผลิตเหล็กแบบดั้งเดิมก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง (CO₂), มลพิษทางน้ำ และการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง ปัจจุบันมี เทคโนโลยีการผลิตเหล็กที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยลดผลกระทบต่อธรรมชาติ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เหล็กแผ่นคุณภาพสูง ที่ลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสามารถรีไซเคิลได้ เทคโนโลยีใหม่ในการผลิตเหล็กแผ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1. เทคโนโลยีผลิตเหล็กแผ่นด้วยไฮโดรเจน (Hydrogen-based Steel Production) กระบวนการผลิตเหล็กแบบดั้งเดิมที่ใช้เตาสูง (Blast Furnace – BF) ต้องพึ่งพาถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานหลัก ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ไฮโดรเจนแทนถ่านหิน ซึ่งช่วยลดการปล่อย CO₂ ได้มากกว่า 90% ส่งผลให้กระบวนการผลิตเหล็กสามารถเข้าสู่ภาวะ Carbon Neutral ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เหล็กแผ่นที่ผลิตด้วยไฮโดรเจนยังมีคุณภาพสูงโดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เหล็กแผ่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนี้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น ในอุตสาหกรรมก่อสร้างสำหรับสร้างอาคารและสะพาน รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะการผลิตตัวถังรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการวัสดุที่แข็งแรงและมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน […]

เหล็กแผ่นคืออะไร? ความแตกต่างของเหล็กแผ่นประเภทต่างๆ

เหล็กแผ่นคืออะไร? เหล็กแผ่น (Steel Plate) เป็นวัสดุที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิต และงานโครงสร้างต่างๆ เหล็กแผ่น ผลิตขึ้นจากกระบวนการรีดร้อน (Hot Rolled Steel Plate) หรือรีดเย็น (Cold Rolled Steel Plate) ซึ่งส่งผลต่อคุณสมบัติและการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน เหล็กแผ่น มีหลายประเภท เช่น เหล็กแผ่นดำ, เหล็กแผ่นขาว, เหล็กแผ่นลาย และ เหล็กแผ่นซิงค์ ซึ่งแต่ละประเภทเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ประเภทของเหล็กแผ่นและความแตกต่าง 1. เหล็กแผ่นดำ (Hot Rolled Steel Plate – HR Plate) เหล็กแผ่นดำ เป็นเหล็กที่ผลิตจาก กระบวนการรีดร้อน (Hot Rolling Process) ทำให้มี สีดำคล้ำ เนื่องจากการเกิดออกซิเดชันขณะรีด มี ความแข็งแรงสูง ทนทาน รองรับแรงกระแทกได้ดี จึงเหมาะสำหรับ งานโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรง เช่น […]

ปัจจัยที่มีผลต่อความผันผวนของราคาเหล็กในตลาดโลก

สงสัยไหมว่า ทำไมราคาเหล็กในแต่ละโรงงานผลิตล้วนมีความผันผวนปรับเปลี่ยนไปมาได้ตลอดเวลา ไม่เหมือนวัสดุบางประเภทที่ราคาค่อนข้างนิ่งสามารถวางแผนการใช้งานได้ล่วงหน้าอย่างไม่ต้องกังวล เพื่อให้ทุกท่านสามารถคาดเดาประเมินราคาเหล็กได้ล่วงหน้า SMK Steel จึงขอมาบอกต่อปัจจัยที่มีผลต่อความผันผวนของราคาเหล็กในตลาดโลกในบทความนี้   อุปสงค์และอุปทาน ไม่ว่าจะสินค้าอะไรก็ตามบนโลกใบนี้ ราคาล้วนหมุนไปตามกลไกของอุปสงค์และอุปทาน เมื่อใดที่ความต้องการซื้อมากกว่าขายราคาจะสูงขึ้น แต่เมื่อใดที่ความต้องการขายมากกว่าซื้อราคาจะต่ำลง เช่นเดียวกับสินค้าอุปโภคบริโภคทุกประเภท จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อุปสงค์และอุปทานเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดราคาเหล็กให้เกิดความผันผวนไปมาได้แน่นอนตามหลักทั่วไป ยิ่งอุปสงค์มากและอุปทานยิ่งต่ำ ราคาก็ยิ่งสูงขึ้น หรือในทางกลับกัน ยิ่งอุปสงค์ต่ำและอุปทานยิ่งสูง ราคายิ่งถูกลง เพราะงั้นคุณจะสามารถวางแผนควบคุมและประหยัดต้นทุนในส่วนของวัตถุดิบให้ผลผลิตต้นทุนต่ำลงได้ก็จาก ‘เหล็ก’ นี่ล่ะ ซึ่งเอางบจากส่วนต่างตรงนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีกไม่น้อยเลย นอกจากนี้ ถึงแม้ว่า ราคาเหล็กจะไม่ได้ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานจากเฉพาะในปัจจุบันเพียงอย่างเดียว แต่การจัดเก็บข้อมูลอุปสงค์และอุปทานจำนวนมหาศาลไม่เรียงจากอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า แนะนำว่า ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไรก็ยิ่งสามารถคาดการณ์ความผันผวนของราคาเหล็กได้ดีมากขึ้นเท่านั้น และการวางแผนคุมต้นทุนในส่วนของราคาเหล็กก็จะผันผวนน้อยลงเท่านั้น ด้วยความพยายามรับรู้ถึงสินค้าคงคลังในห่วงโซ่อุปทานในทุก ๆ การเชื่อมโยงตั้งแต่โรงถลุงเหล็กไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง สินค้าคงคลังสามารถทำหน้าที่แยกและปิดความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานในระยะสั้น   แนวโน้มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยในการผันผวนของราคาเหล็กไม่ใช่แค่ได้รับอิทธิพลเฉพาะปัจจัยจากอุปสงค์และอุปทานอย่างเดียว แต่ยังได้รับอิทธิพลจากความต้องการใช้งานของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหล็กด้วย ตัวอย่างเช่น หากอุตสาหกรรมยานยนต์ (ที่ปกติจะต้องใช้เหล็กในการทำโครงสร้างและชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ) มีความแข็งแกร่งได้รับความนิยมในตลาดเพิ่มมากขึ้น ความต้องการใช้เหล็กก็อาจสูงขึ้นและมีราคาเพิ่มสูงขึ้นได้ เช่นเดียวกับธุรกิจก่อสร้าง บรรจุภัณฑ์ และธุรกิจอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้วัสดุประเภทเหล็กมาเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้เหล็กและผู้ประกอบการผลิตเหล็กถึงจำเป็นต้องติดตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและนโยบายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกันอยู่ตลอดเวลา   ต้นทุนของวัสดุ […]

ประเภทของเหล็กแผ่น และการนำไปใช้ประโยชน์

‘เหล็ก’ ที่เราใช้กันในปัจจุบันถูกออกแบบและผลิตมาให้มีหลากหลายประเภทตอบโจทย์กับการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรมมากที่สุด แต่ประเภทของเหล็กแผ่นมีอะไรบ้างและการนำไปใช้ประโยชน์ทำได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ   เหล็กแผ่นคืออะไรและมีกี่ประเภท เหล็กแผ่น คือ หนึ่งในเหล็กรูปพรรณที่ถูกผลิตออกมาจากโลหะผสมกับเหล็ก และอื่นๆ ให้อยู่ในลักษณะแบนเป็นแผ่นเรียบหรือแผ่นขด มีหลายขนาดและหลายความหนา นิยมนำไปใช้งานโครงสร้างทั่วไป การปูพื้น การเชื่อมต่อโครงสร้างยานยนต์ งานต่อเรือ ฯลฯ ก ส่วนประเภทของเหล็กแผ่นบนโลกใบนี้มีหลายสิบประเภท แต่ในไทยนิยมใช้งานอยู่ประมาณ 4 ประเภท ได้แก่ เหล็กแผ่นดำ, เหล็กแผ่นขาว, เหล็กแผ่นดำขัดผิว และเหล็กแผ่นสังกะสี   ประเภทของเหล็กแผ่น ทั้ง 4 ประเภท และการใช้ประโยชน์ สำหรับประเภทเหล็กแผ่นที่ได้รับความนิยมในการใช้งานอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบัน ทั้ง 4 ประเภท มีความแตกต่างและการใช้ประโยชน์ ดังนี้   1)  เหล็กแผ่นดำ (Hot Rolled Steel Sheet) เหล็กแผ่นดำ หรือ เหล็กแผ่นรีดร้อน คือ เหล็กที่ผ่านกระบวนการรีดจากอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิการตกผลึกซ้ำ (ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 1,700° F […]

ขั้นตอนและกระบวนการผลิตเหล็ก

ทราบหรือไม่ กว่าจะมาเป็น ‘เหล็ก’ ที่เราใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องผ่านขั้นตอนและกระบวนการผลิตอย่างไรบ้าง เพื่อให้ทุกท่านได้ทำความรู้จักและใช้งานกันอย่างเข้าใจมากขึ้น SMK Steel จึงขอมาอธิบายขั้นตอนและกระบวนการผลิตเหล็กในบทความนี้   การแยกผลิตภัณฑ์เหล็กตามขั้นตอนและกระบวนการผลิต เพื่อให้การอธิบายขั้นตอนและกระบวนการผลิตสามารถเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น จึงขอแยกผลิตภัณฑ์เหล็กตามขั้นตอนและกระบวนการผลิต ดังนี้ 1) เหล็กขั้นต้น ในส่วนของเหล็กขั้นต้นจะเริ่มจากการเป็นสินแร่เหล็ก (วัตถุดิบหลักในการดึงเอาเนื้อเหล็กออกมา) ผ่านขั้นตอนการถลุง ให้เหล็กเอาสินแร่ไปผ่านกระบวนการจนเหล็กเข้มข้นสูงขึ้น ผ่านกระบวนการต่างๆ จนออกมาเป็นเหล็กถลุง (ประกอบไปด้วยคาร์บอนสูง 4.5%) หรือเหล็กพรุน สังเกตได้จากโดยรอบมีรูพรุน (ประกอบไปด้วยคาร์บอนสูง 4.5% เช่นกัน) 2) เหล็กชั้นกลาง เหล็กขั้นกลางจะเป็นเหล็กที่นำเอาเหล็กชั้นต้น ไม่ว่าจะเหล็กถลุงหรือเหล็กพรุน (รวมถึงเศษเหล็ก) มาผ่านกระบวนการหลอมด้วยความร้อนสูงประมาณ 1600 °C จนเหล็กเกิดการหลอมเหลวกลายเป็นเหล็กกล้าดิบจนมีลักษณะจากของแข็งกลายเป็นของเหลวก่อนจะได้ผลิตภัณฑ์ออกมาในรูปแบบเหล็กแท่งหล่อ และ เหล็กต่อเนื่อง ในรูปแบบของเหล็กแท่งเล็ก เหล็กแท่งใหญ่ และเหล็กแท่งแบน ส่วนอีกผลิตภัณฑ์จะเป็นเหล็กกล้าเหลว ทั้งนี้ หากเกิดสิ่งสกปรกปลอมปนระหว่างการหลอมเหลวจะเรียกว่า สแลก ก็จำเป็นจะต้องรีบกำจัดก่อนเทน้ำเหล็กหลอมเหลวลงสู่แม่พิมพ์แบบหล่อเหล็ก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้าดิบออกมามีคุณภาพสูง 3) เหล็กชั้นปลาย เมื่อได้เหล็กที่ผ่านมาจากกระบวนการกลายเป็นเหล็กขั้นกลางแล้วจะมีการแบ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเหล็กชั้นกลางแต่ละประเภท ดังนี้ เหล็กแท่งเล็ก : […]

เหล็กคืออะไร? ความรู้เรื่องเหล็ก และประเภทของเหล็ก

เหล็กคืออะไร? ความรู้เรื่องเหล็ก และประเภทของเหล็ก

เหล็ก เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทกับการนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันมากที่สุด และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยเหล็กจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือเหล็ก (iron) และ เหล็กกล้า (steel) ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ มีคุณสมบัติที่ต่างกันหลายประการ แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะถูกเรียกอย่างเหมารวมกันว่า “เหล็ก” นั่นเอง ลักษณะทั่วไปของเหล็กและเหล็กกล้า เหล็ก จะมีสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ คือ Fe มักพบได้มากในธรรมชาติ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสีแดงอมน้ำตาล เมื่อนำเข้าใกล้กับแม่เหล็ก จะดูดติดกัน ส่วนพื้นที่ที่ค้นพบเหล็กได้มากที่สุด ก็คือ ตามชั้นหินใต้ดินที่อยู่บริเวณที่ราบสูงและภูเขา โดยจะอยู่ในรูปของสินแร่เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็ต้องใช้วิธีถลุงออกมา เพื่อให้ได้เป็นแร่เหล็กบริสุทธิ์และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เหล็กกล้า เป็นโลหะผสม ที่มีการผสมระหว่าง เหล็ก ซิลิคอน แมงกานีส คาร์บอนและธาตุอื่นๆ อีกเล็กน้อย ทำให้มีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นสูง ทั้งมีความทนทาน แข็งแรง และสามารถต้านทานต่อแรงกระแทกและภาวะทางธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยม  ที่สำคัญคือเหล็กกล้าไม่สามารถค้นพบได้ตามธรรมชาติเหมือนกับเหล็ก เนื่องจากเป็นเหล็กที่สร้างขึ้นมาโดยการประยุกต์ของมนุษย์  แต่ในปัจจุบันก็มีการนำเหล็กกล้ามาใช้งานอย่างแพร่หลาย เพราะมีต้นทุนต่ำ จึงช่วยลดต้นทุนได้เป็นอย่างมาก และมีคุณสมบัติที่โดดเด่นไม่แพ้เหล็ก ประเภทของเหล็กแบ่งได้อย่างไรบ้าง? สำหรับประเภทของเหล็กนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ […]

วิธีตรวจสอบเหล็กมาตราฐาน (หรือเหล็กเต็ม)

วิธีตรวจสอบเหล็กมาตราฐาน (หรือเหล็กเต็ม)

หลายคนที่เคยมีประสบการณ์ใช้เหล็กเส้นก่อสร้างหรือเหล็กโครงสร้าง อาจเคยได้ยินคำว่า เหล็กเต็ม กับ เหล็กไม่เต็ม (หรือที่เรียกทั่วไปว่าเหล็กเบา) กันบ้างไม่มากก็น้อย แล้วจริงๆมันต่างกันอย่างไร และเราจะดูได้อย่างไรว่าเหล็กที่เรานำมาใช้เป็นเหล็กแบบไหนควรทำมาใช้งานหรือไม่ เหล็กเต็ม คือ เหล็กที่ผลิตได้ตามมาตราฐานของ สมอ. (สำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ซึ่งเราเรียกมาตราฐานนี้ว่า มอก. คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ขนาดและน้ำหนักตามที่กำหนดไว้ ส่วนเหล็กไม่เต็ม (เหล็กเบา) คือ เหล็กที่ผลิตไม่ตรงตามข้อกำหนดของ สมอ. หรือ เหล็กที่ผ่านการใช้งานมาแล้วและนำมารีดใหม่เพื่อใช้ซ้ำ ซึ่งอาจส่งผลให้งานโครงสร้างแตกหักเสียหายและเกิดอันตรายตามมาได้ 3 วิธีง่าย ๆ ในการตรวจสอบเหล็กด้วยตัวเอง ทำได้โดย สังเกตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหรือหน้าตัดเหล็กที่ต้องมีขนาดเท่ากันตลอดความยาวเส้น ผิวเหล็กเรียบ ไม่มีรูตามดหรือเป็นลูกคลื่น และหน้าตัดเหล็กไม่บิดเบี้ยว ดูจาก ‘ใบกำกับเหล็ก’ (Name Plate) ที่จะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเหล็ก เช่น ชนิด ขนาด ความยาว เป็นต้น แต่ที่สำคัญที่สุดบนใบกำกับเหล็ก คือ เครื่องหมาย มอก. แต่หากเราสั่งเหล็กจำนวนไม่เยอะหรือใบกำกับหลุดหาย สามารถหาตัวหนังสือมอก.ที่ปั๊มมาเป็นระยะๆบนเนื้อเหล็กตลอดความยาวของเหล็กเส้นนั้นได้ ชั่งน้ำหนักเหล็ก โดยการตัดเหล็กออกมา 1 เมตรแล้วนำไปชั่ง […]

วิธีเลือกซื้อ เหล็ก อย่างไร ให้ได้สินค้าคุณภาพ

วิธีเลือกซื้อ เหล็ก อย่างไร ให้ได้สินค้าคุณภาพ

วิธีเลือกซื้อ เหล็ก อย่างไร ให้ได้สินค้าคุณภาพ สังเกตุเหล็กเกรด A ให้ได้ของแท้ 100 % หลายคนมีปัญหากับการ เลือกซื้อเหล็ก ลองมาดูบทความนี้กันก่อน เพื่อประกอบความรู้เพิ่มทักษะกันสักนิดไม่ใช่เรื่องยากกับการเลือกเหล็ก หรือ วิธีซื้อเหล็ก ให้ถูกใจและถูกกับงานที่เราต้องการใช้ เริ่มต้นที่เรื่องนี้ ขนาดต้องวัดได้ตรงตามสเปค ใช้หน่วยมิลลิเมตร บวก ลบ ได้ไม่เกิน 2% ขนาดและความหนาต้องเท่ากันทุกเส้น มุมของเหล็กฉากหรือแป๊บ ต้องวัดได้ 90 องศา มุมฉากคม ไม่โค้ง หรือมนและไม่มีรอยต่อที่เหล็ก ส่วนท่อกลมต้องกลมสมบูรณ์  ต้องวัดทแยงมุมต้องได้ขนาดเท่ากันทั้งหมด ไม่เป็นวงรีหรือมีรอยแตกเชื่อมไม่สนิท ความยาวเท่ากันทุกเส้น สีเหมือนกันทั้งหมด ไม่คดงอ หรือบิด ทดสอบโดยวางบนพื้นแล้วลองกลิ้งเหล็กไปมาสังเกตุได้ง่าย น้ำหนักเหล็กเส้นมาตรฐานทั้งข้ออ้อยเส้นกลม สิ่งสำคัญคือ น้ำหนัก ต้องได้ตามสเปค ผิดพลาดได้ตามค่าที่กำหนดเท่านั้นตั้งแต่ 6 มิลถึง 9 มิล น้ำหนัก บวก ลบ ไม่เกิน 3% ต่อเส้น 12 […]

วิธีการตรวจสอบเหล็ก มอก. ด้วยสองมือเปล่า

วิธีการตรวจสอบเหล็ก มอก. ด้วยสองมือเปล่า

วิธีการตรวจสอบเหล็ก มอก. ด้วยสองมือเปล่า ภาคต่อจาก EP. ที่แล้วที่ว่าด้วยเหล็กเบา เหล็กเต็ม… วันนี้เราจึงรวบรวมวิธีการตรวจสอบเหล็กที่ได้ มาตราฐาน มอก. อย่างง่ายๆกันครับ ไม่ต้องใช้เครื่องตรวจวัด ใช้แค่ 2 มือน้อยๆของเรานี่หละครับ 1.ตรวจสอบด้วยตาเปล่า : ให้สังเกตที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหรือหน้าตัดเหล็กซึ่งต้องเท่ากันตลอดความยาวเส้น ผิวเหล็กเรียบ หน้าตัดเหล็กไม่บิดเบี้ยว ไม่มีรูตามดหรือเป็นลูกคลื่น 2.ตรวจสอบได้จากป้ายรายละเอียดข้อมูลหรือ “ใบกำกับเหล็ก” ซึ่งจะระบุข้อมูลสำคัญต่างๆ เอาไว้ครบถ้วน อย่างเช่น ชื่อบริษัท ประเภทสินค้า ชั้นคุณภาพ  ขนาด ความยาว จำนวนเส้นต่อมัด เลขที่เตาหลอม วัน/เวลาที่ผลิต หรือเลขที่ มอก. แต่ใบกำกับเหล็กจะมากับเหล็กล็อตใหญ่ หากเราสั่งเพียงไม่กี่เส้นหรือใบกำกับหล่นหาย เราสามารถสังเกตได้จากรอยประทับตรา มอก. และรายละเอียด บนผิวเหล็ก ซึ่งรอยประทับเหล่านี้จะปรากฏอยู่ตลอดทั้งความยาวของเหล็ก 3.การชั่งน้ำหนัก : นำเหล็กที่เราจะตรวจสอบมาตัดให้ได้ขนาด 1 เมตร แล้วเอาไปชั่งน้ำหนัก หากชั่งแล้วน้ำหนักอยู่ในมาตราฐานของ สมอ. แสดงว่าเหล็กนี้ได้มาตราฐาน หรือเป็นเหล็กเต็ม เช่น เหล็กเส้นกลม […]