ปัจจัยที่มีผลต่อความผันผวนของราคาเหล็กในตลาดโลก

สงสัยไหมว่า ทำไมราคาเหล็กในแต่ละโรงงานผลิตล้วนมีความผันผวนปรับเปลี่ยนไปมาได้ตลอดเวลา ไม่เหมือนวัสดุบางประเภทที่ราคาค่อนข้างนิ่งสามารถวางแผนการใช้งานได้ล่วงหน้าอย่างไม่ต้องกังวล เพื่อให้ทุกท่านสามารถคาดเดาประเมินราคาเหล็กได้ล่วงหน้า SMK Steel จึงขอมาบอกต่อปัจจัยที่มีผลต่อความผันผวนของราคาเหล็กในตลาดโลกในบทความนี้   อุปสงค์และอุปทาน ไม่ว่าจะสินค้าอะไรก็ตามบนโลกใบนี้ ราคาล้วนหมุนไปตามกลไกของอุปสงค์และอุปทาน เมื่อใดที่ความต้องการซื้อมากกว่าขายราคาจะสูงขึ้น แต่เมื่อใดที่ความต้องการขายมากกว่าซื้อราคาจะต่ำลง เช่นเดียวกับสินค้าอุปโภคบริโภคทุกประเภท จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อุปสงค์และอุปทานเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดราคาเหล็กให้เกิดความผันผวนไปมาได้แน่นอนตามหลักทั่วไป ยิ่งอุปสงค์มากและอุปทานยิ่งต่ำ ราคาก็ยิ่งสูงขึ้น หรือในทางกลับกัน ยิ่งอุปสงค์ต่ำและอุปทานยิ่งสูง ราคายิ่งถูกลง เพราะงั้นคุณจะสามารถวางแผนควบคุมและประหยัดต้นทุนในส่วนของวัตถุดิบให้ผลผลิตต้นทุนต่ำลงได้ก็จาก ‘เหล็ก’ นี่ล่ะ ซึ่งเอางบจากส่วนต่างตรงนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีกไม่น้อยเลย นอกจากนี้ ถึงแม้ว่า ราคาเหล็กจะไม่ได้ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานจากเฉพาะในปัจจุบันเพียงอย่างเดียว แต่การจัดเก็บข้อมูลอุปสงค์และอุปทานจำนวนมหาศาลไม่เรียงจากอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า แนะนำว่า ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไรก็ยิ่งสามารถคาดการณ์ความผันผวนของราคาเหล็กได้ดีมากขึ้นเท่านั้น และการวางแผนคุมต้นทุนในส่วนของราคาเหล็กก็จะผันผวนน้อยลงเท่านั้น ด้วยความพยายามรับรู้ถึงสินค้าคงคลังในห่วงโซ่อุปทานในทุก ๆ การเชื่อมโยงตั้งแต่โรงถลุงเหล็กไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง สินค้าคงคลังสามารถทำหน้าที่แยกและปิดความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานในระยะสั้น   แนวโน้มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยในการผันผวนของราคาเหล็กไม่ใช่แค่ได้รับอิทธิพลเฉพาะปัจจัยจากอุปสงค์และอุปทานอย่างเดียว แต่ยังได้รับอิทธิพลจากความต้องการใช้งานของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหล็กด้วย ตัวอย่างเช่น หากอุตสาหกรรมยานยนต์ (ที่ปกติจะต้องใช้เหล็กในการทำโครงสร้างและชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ) มีความแข็งแกร่งได้รับความนิยมในตลาดเพิ่มมากขึ้น ความต้องการใช้เหล็กก็อาจสูงขึ้นและมีราคาเพิ่มสูงขึ้นได้ เช่นเดียวกับธุรกิจก่อสร้าง บรรจุภัณฑ์ และธุรกิจอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้วัสดุประเภทเหล็กมาเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้เหล็กและผู้ประกอบการผลิตเหล็กถึงจำเป็นต้องติดตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและนโยบายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกันอยู่ตลอดเวลา   ต้นทุนของวัสดุ […]

ประเภทของเหล็กแผ่น และการนำไปใช้ประโยชน์

‘เหล็ก’ ที่เราใช้กันในปัจจุบันถูกออกแบบและผลิตมาให้มีหลากหลายประเภทตอบโจทย์กับการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรมมากที่สุด แต่ประเภทของเหล็กแผ่นมีอะไรบ้างและการนำไปใช้ประโยชน์ทำได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ   เหล็กแผ่นคืออะไรและมีกี่ประเภท เหล็กแผ่น คือ หนึ่งในเหล็กรูปพรรณที่ถูกผลิตออกมาจากโลหะผสมกับเหล็ก และอื่นๆ ให้อยู่ในลักษณะแบนเป็นแผ่นเรียบหรือแผ่นขด มีหลายขนาดและหลายความหนา นิยมนำไปใช้งานโครงสร้างทั่วไป การปูพื้น การเชื่อมต่อโครงสร้างยานยนต์ งานต่อเรือ ฯลฯ ก ส่วนประเภทของเหล็กแผ่นบนโลกใบนี้มีหลายสิบประเภท แต่ในไทยนิยมใช้งานอยู่ประมาณ 4 ประเภท ได้แก่ เหล็กแผ่นดำ, เหล็กแผ่นขาว, เหล็กแผ่นดำขัดผิว และเหล็กแผ่นสังกะสี   ประเภทของเหล็กแผ่น ทั้ง 4 ประเภท และการใช้ประโยชน์ สำหรับประเภทเหล็กแผ่นที่ได้รับความนิยมในการใช้งานอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบัน ทั้ง 4 ประเภท มีความแตกต่างและการใช้ประโยชน์ ดังนี้   1)  เหล็กแผ่นดำ (Hot Rolled Steel Sheet) เหล็กแผ่นดำ หรือ เหล็กแผ่นรีดร้อน คือ เหล็กที่ผ่านกระบวนการรีดจากอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิการตกผลึกซ้ำ (ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 1,700° F […]

ขั้นตอนและกระบวนการผลิตเหล็ก

ทราบหรือไม่ กว่าจะมาเป็น ‘เหล็ก’ ที่เราใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องผ่านขั้นตอนและกระบวนการผลิตอย่างไรบ้าง เพื่อให้ทุกท่านได้ทำความรู้จักและใช้งานกันอย่างเข้าใจมากขึ้น SMK Steel จึงขอมาอธิบายขั้นตอนและกระบวนการผลิตเหล็กในบทความนี้   การแยกผลิตภัณฑ์เหล็กตามขั้นตอนและกระบวนการผลิต เพื่อให้การอธิบายขั้นตอนและกระบวนการผลิตสามารถเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น จึงขอแยกผลิตภัณฑ์เหล็กตามขั้นตอนและกระบวนการผลิต ดังนี้ 1) เหล็กขั้นต้น ในส่วนของเหล็กขั้นต้นจะเริ่มจากการเป็นสินแร่เหล็ก (วัตถุดิบหลักในการดึงเอาเนื้อเหล็กออกมา) ผ่านขั้นตอนการถลุง ให้เหล็กเอาสินแร่ไปผ่านกระบวนการจนเหล็กเข้มข้นสูงขึ้น ผ่านกระบวนการต่างๆ จนออกมาเป็นเหล็กถลุง (ประกอบไปด้วยคาร์บอนสูง 4.5%) หรือเหล็กพรุน สังเกตได้จากโดยรอบมีรูพรุน (ประกอบไปด้วยคาร์บอนสูง 4.5% เช่นกัน) 2) เหล็กชั้นกลาง เหล็กขั้นกลางจะเป็นเหล็กที่นำเอาเหล็กชั้นต้น ไม่ว่าจะเหล็กถลุงหรือเหล็กพรุน (รวมถึงเศษเหล็ก) มาผ่านกระบวนการหลอมด้วยความร้อนสูงประมาณ 1600 °C จนเหล็กเกิดการหลอมเหลวกลายเป็นเหล็กกล้าดิบจนมีลักษณะจากของแข็งกลายเป็นของเหลวก่อนจะได้ผลิตภัณฑ์ออกมาในรูปแบบเหล็กแท่งหล่อ และ เหล็กต่อเนื่อง ในรูปแบบของเหล็กแท่งเล็ก เหล็กแท่งใหญ่ และเหล็กแท่งแบน ส่วนอีกผลิตภัณฑ์จะเป็นเหล็กกล้าเหลว ทั้งนี้ หากเกิดสิ่งสกปรกปลอมปนระหว่างการหลอมเหลวจะเรียกว่า สแลก ก็จำเป็นจะต้องรีบกำจัดก่อนเทน้ำเหล็กหลอมเหลวลงสู่แม่พิมพ์แบบหล่อเหล็ก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้าดิบออกมามีคุณภาพสูง 3) เหล็กชั้นปลาย เมื่อได้เหล็กที่ผ่านมาจากกระบวนการกลายเป็นเหล็กขั้นกลางแล้วจะมีการแบ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเหล็กชั้นกลางแต่ละประเภท ดังนี้ เหล็กแท่งเล็ก : […]